กีฬาโอลิมปิค ลอนดอน 2012

ทำไมเป็นลอนดอน
ในปี 2003 เมืองต่างๆ เก้าเมืองทั่วโลกได้ยื่นเสนอขอเป็นเจ้าภาพโอลิมปิค 2012 ในปี 2004 จำนวนเมืองได้ลดลงเหลือ 5 เมืองคือ ลอนดอน, แมดริด, มอสโคว์, นิวยอร์ค และปารีส หลังจากได้มีการประเมินผลโดยคณะกรรมการโอลิมปิคสากล แม้ว่าแมดริด และปารีสจะเป็นผู้แข่งขันที่น่าชนะมากที่สุด แต่ในที่สุดก็มีการประกาศในปี 2005 ลอนดอนเป็นผู้มีชัยเหนือผรั่งเศสเพียงเล็กน้อยชัยชนะของลอนดอนเป็นชับชนะที่ยิ่งใหญ่ทำให้ลอนดอนเป็นเมืองแรกที่เป็นเจ้าภาพโอลิมปิคถึงสามครั้ง การแข่งขันพาราลิมปิคในปี 2012 จะเป็นเกมส์ครั้งที่ 14 เพื่ออุทิศให้กับนักกีฬาผู้พิการทั้งร่างกายและบกพร่องทางปัญญา
การเตรียมการสำหรับการแข่งขันกีฬา
นับแต่ได้รับชัยชนะในการเป็นผู้จัด ได้มีการจัดการหลายอย่างเพื่อให้มั่นใจได้ว่าโอลิมปิคในลอนดอนเป็นที่น่าประทับใจในเรื่องกีฬา, สังคม และวัฒนธรรมคณะกรรมการและองค์กรต่างๆ
องค์กรหลักสามรายเป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลให้กีฬาดำเนินไปอย่างประสบความสำเร็จและทันเวลาThe London Organising Committee for the Olympic Games (LOCOG)เป็นผู้รับผิดชอบการวางแผนและการพัฒนาเกม คณะกรรมการชุดนี้มีประธานคือ Lord Coe ประธานของลอนดอน 2012
Olympic Delivery Authority (ODA) เป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลจัดสาธารณูปโภคต่างๆที่จำเป็นให้เสร็จทันก่อนการแข่งขันเกม
The Government Olympic Executive เป็นผู้ประสานงานการแข่งขันโอลิมปิค 2012 โดยอิงกับกระทรวงวัฒนธรรม สื่อและการกีฬา สาธารณูปโภค
การเงิน
การก่อตั้งสถานที่โอลิมปิคและสาธารณูปโภคเบื้องต้นได้รับทุนสนับสนุนเงินจากภาคประชาชน (ได้มาจากภาษี) ค่าใช้จ่ายในการแข่งขันประมาณการกว่า 9 พันล้านปอนด์ ส่วนกีฬานั้นจะได้รับเงินทุนจากหน่วยงานภาคเอกชนเป็นผู้อุปถัมภ์และจากการบริจาคอื่นๆสถานที่
ลอนดอนกำลังได้รับการปรับปรุงโฉมใหม่เพื่อรองรับการแข่งขันโดยอาคารทั้งใหม่, เก่าอาคารประวัติศาสตร์, อาคารร่วมสมัยและคอมเพล็กซ์ต่างๆ จะถูกนำมาใช้เป็นสถานที่สำหรับการแข่งขันโอลิมปิคครั้งนี้บริเวณเกรทเตอร์ลอนดอน จะทำการแบ่งเป็นสามโซน คือ
- โซนโอลิมปิค(The Olympic Zone)-จะมีการสร้างอุทยานโอลิมปิคที่สแตรตฟอร์ด,ลอนดอนตะวันออก ตรงบริเวณที่ดินเปล่าและที่ดินอุตสาหกรรม อุทยานนี้จะเป็นที่ตั้งของโอลิมปิค สเตเดียม ศูนย์กีฬาทางน้ำ Aquatics Centre และหมู่บ้านโอลิมปิค
- โซนแม่น้ำ(The River Zone)ประกอบไปด้วยสถานที่ห้าแห่งริมแม่น้ำเทมส์ รวมทั้งสนาม 02และศูนย์นิทรรศการเอ็กเซล ExCel Exhibition Centre
- โซนกลาง (The Central Zone) รวมสถานที่เช่น วิมบลีย์ สเตเดียมและไฮด์ปาร์ค
การขนส่งในลอนดอนมีประสิทธิภาพอยู่แล้วแต่ได้มีการเพิ่มมากขึ้น มีการขยายสาธารณูปโภคด้านการขนส่งของรถไฟใต้ดินสายตะวันออก และมีการยกระดับรถไฟด็อคแลนด์
ได้มีการวางแผนสร้างรถไฟความเร็วสูงโอลิมปิค จาเวลิน ซึ่งสามารถขนส่งผู้โดยสารจาก St Pancras International ซึ่งเป็นที่ทำการของยูโรสตาร์ไปยังอุทยานโอลิมปิค อุทยานและจุดขึ้นรถหลายแห่งสามารถทำได้ภายใน M25 (เขตเกรทเตอร์ลอนดอนและมอเตอร์เวย์) ด้วยยานพาหนะที่ลดการแพร่กระจายก๊าซคาร์บอน
หุ้นส่วนหลักในการสร้างระบบขนส่งประกอบด้วยขนส่งลอนดอน,กระทรวงคมนาคม,และหน่วยงานทางหลวง
เครื่องหมายอย่างเป็นทางการสำหรับกีฬาโอลิมปิค
เครื่องหมายอย่างเป็นทางการสำหรับกีฬาโอลิมปิค 2012 ได้รับการออกแบบโดยบริษัทที่ปรึกษาตราสินค้า วูล์ฟ โอลินส์(Wolff Olins)และมีการเปิดเผยให้ชมเมื่อเดือนมิถุนายน 2007 เครื่องหมายนี้มีหลากสีซึ่งเป็นเครื่องหมายสำหรับทั้งกีฬาโอลิมปิคและพาราลิมปิคเป็นครั้งแรกกีฬาสีเขียว
มีการวางแผนไว้เพื่อทำให้ลอนดอน 2012 เป็นเกมโอลิมปิคแบบยั่งยืน( Sustainable Olympic Games) คณะกรรมาธิการสำหรับลอนดอนแบบยั่งยืน 2012 (The Commission for Sunstainable London 2012) จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2007 เพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายดังต่อไปนี้วัตถุประสงค์เพื่อการยั่งยืนของลอนดอน 2012 คือ:
- ลดการแพร่คาร์บอนระหว่างการพัฒนาอุทยานโอลิมปิคและสถานที่อื่นๆ
- ผลิตของเสียให้น้อยที่สุดระหว่างการก่อสร้าง
- ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด
- ปรับปรุงและสนับสนุนการดำรงชีวิตเพื่อสุขภาพอันดี
- ทำงานร่วมกับชุมชนทั้งในและนอกบริเวณโอลิมปิค ปาร์ค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น